เมนู

10. ปริพาชกสูตร


ว่าด้วยตรัสธรรม 4 แก่ปริพาชก


[30] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ
กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ปริพาชกผู้มีชื่อเสียงปรากฏหลายคนอยู่ที่อารามปริพาชก
แทบฝั่งแม่น้ำสัปปินี คือปริพาชกชื่ออันนภาระ ชื่อวธระ ชื่อสกุลุทายิและ
ปริพาชกมีชื่อเสียงปรากฏอื่นอีก ครั้งนั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ออกจากที่เร้นแล้วเสด็จไปอารามปริพาชกนั้น ครั้นเสด็จถึงแล้วประทับนั่ง ณ
อาสนะที่เขาจัดไว้แล้ว จึงตรัสกะปริพาชกทั้งหลายว่า
ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท 4 ข้อนี้ ปรากฏว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ
ฯลฯ สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว ธรรมบท 4 ข้อคือ
อะไรบ้าง คือ อนภิชฌา อพยาบาท สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แล
ธรรมบท 4 ข้อที่ปรากฏว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ ฯลฯ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักเลิกถอนธรรมบท
คืออนภิชฌาเสียแล้ว บัญญัติ (แต่งตั้ง ยกย่อง) สมณะหรือพราหมณ์ผู้มี
อภิชฌาผู้กำหนัดกล้าในกามทั้งหลาย (ว่าเป็นคนดี) ดังนี้ ในชื่อนี้เราจะว่า
กะผู้นั้นว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจะคอยดูอานุภาพ ปริพาชกทั้งหลาย
ข้อที่ผู้นั้นนะ จักเลิกถอนธรรมบทคืออนภิชฌาเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้มีอภิชฌาผู้มีความกำหนัดกล้าในกามทั้งหลาย (ว่าเป็นคนดี นั่น
เป็นไปไม่ได้.

ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักเลิกถอนธรรมบท
คืออพยาบาทเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาทมีน้ำใจดุร้าย
(ว่าเป็นคนดี) ดังนี้ ในข้อนี้เราจะว่ากะผู้นั้นว่า จงมา จงกล่าว จงสำแดง เรา
จะคอยดูอานุภาพ ปริพาชกทั้งหลาย ข้อที่ผู้นั้นนะ จักเลิกถอนธรรมบทคือ
อพยาบาทเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาทมีน้ำใจดุร้าย (ว่า
เป็นคนดี) นั่นเป็นไปไม่ได้
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักเลิกถอนธรรมบท
คือสัมมาสติเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
(ว่าเป็นคนดี) ดังนี้ ในข้อนี้เราจะว่ากะผู้นั้นว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด
เราจะคอยดูอานุภาพ ปริพาชกทั้งหลาย ข้อที่ผู้นั้นนะ จักเลิกถอนธรรมบท
คือสัมมาสติเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้หลงลืมสติไม่มีสัมปชัญญะ
(ว่าเป็นคนดี) นั่นเป็นไปไม่ได้.
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักเลิกถอนธรรมบท
คือสัมมาสมาธิเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด
(ว่าเป็นคนดี) ดังนี้ ในข้อนี้เรากะว่ากะผู้นั้นว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด
เราจะคอยดูอานุภาพ ปริพาชกทั้งหลาย ข้อที่ผู้นั้นนะ จักเลิกถอนธรรมบท
คือสัมมาสมาธิเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุน
ไปผิด (ว่าเป็นคนดี) นั่นเป็นไปไม่ได้.
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดมาสำคัญเห็นธรรมบท 4 ข้อนี้ว่าเป็นข้อ
ควรติควรคัดค้าน ผู้นั้นย่อมได้รับคำติฉินอันสมแก่เหตุ ตกอยู่ในฐานะอันน่า
ติเตียน 4 ประการในปัจจุบันนี้ 4 ประการคืออะไรบ้าง คือ

ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคืออนภิชฌาไซร้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใด เป็นผู้มีอภิชฌามีความกำหนัดกล้าในกามทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นก็ต้องเป็นที่บูชา... เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น
ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคืออพยาบาทไซร้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใด เป็นผู้มีจิตพยาบาทมีใจดุร้าย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ต้องเป็น
ที่บูชา . . . เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น
ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคือสัมมาสติไซร้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเป็นผู้หลงลืมสติไม่มีสัมปชัญญะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ต้อง
เป็นที่บูชา. . . เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น
ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคือสัมมาสมาธิไซร้ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นก็ต้องเป็นที่บูชา. . . เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น
ผู้ใดมาสำคัญเห็นธรรมบท 4 ข้อนี้ว่าเป็นข้อควรติควรคัดค้าน ผู้นั้น
ย่อมได้รับคำติฉินอันสมแก่เหตุ ตกอยู่ในฐานะที่น่าติเตียน 4 ประการนี้ ใน
ปัจจุบันนี่แล
ปริพาชกทั้งหลาย แม้แต่ปริพาชกชื่อวัสสะและภัญญะ ชาวชนบท
อุกกละ ผู้เป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ยังไม่สำคัญเห็นธรรมบท
4 ข้อนี้ว่าเป็นข้อควรติควรคัดค้าน นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะกลัวถูกนินทา
ว่าร้ายและเกลียดชัง
ผู้ไม่พยาบาท มีสติทุกเมื่อ มีใจ
ตั้งมั่นในกายใน ศึกษาในอันกำจัดอภิชฌา
เรียกว่าผู้ไม่ประมาท.
จบปริพาชกสูตรที่ 10
จบอุรุเวลวรรคที่ 3

อรรถกถาปริพาชกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปริพาชกสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิญฺญาตา ได้แก่ ผู้มีชื่อที่รู้จักกันคือปรากฏ. บทว่า
อนฺนภาโร เป็นต้น เป็นชื่อของปริพาชกเหล่านั้น. บทว่า ปฏิสลฺลานา
วุฏฺฐิโต
ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากผลสมาบัติ. ก็ผลสมาบัตินั้น
ท่านประสงค์ว่าที่เร้นในที่นี้. บทว่า ปจฺจกฺขาย คือคัดค้าน. บทว่า
อภิชฺฌาลุํ คือผู้มีตัณหา. บทว่า กาเมสุ ติพฺพสาราคํ ความว่า ผู้มีราคะ
ความกำหนัดมากในวัตถุกาม. บทว่า ตมหํ ตตฺถ เอวํ วเทยฺยํ ความว่า
เมื่อเขากล่าวคำนั้น เราจะกล่าวอย่างนี้ในเหตุนั้น . บทว่า ปฏิกฺโกสิตพฺพํ
มญฺเญยฺย
ความว่า ผู้ใดมาสำคัญว่าควรคัดค้าน คือว่าควรห้าม. บทว่า
สหธมฺมิกา ได้แก่พร้อมกับเหตุ บทว่า วาทานุปาตา ความว่า ก็เบียดเบียน
วาทะที่ประกอบด้วยธรรม ก็ตกไปตามวาทะที่ไม่ประกอบด้วยธรรม อธิบายว่า
ประพฤติตามวาทะ. บทว่า คารยฺหา ฐานา คือปัจจัยอันควรติเตียน. บทว่า
อาคจฺฉนฺติ คือย่อมเข้าถึง.
บทว่า อุกฺกลา คือชาวชนบทอุกกละ. บทว่า วสฺสภญฺญา คือ
ปริพาชก 2 คน ชื่อวัสสะ และภัญญะ. บทว่า อเหตุกวาทา ความว่า
ทั้ง 2 คนเป็นผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความ
หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลายดังนี้. บทว่า อกิริยวาทา ความว่า ผู้มีวาทะปฏิเสธ
กิริยวาทะอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำอยู่ บาปไม่ชื่อว่าอันบุคคลทำดังนี้. บทว่า
นตฺถิกวาทา ความว่า ผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ทานที่ทายกให้แล้วไม่มีผล
ดังนี้ . คนทั้ง 2 เหล่านั้น เป็นผู้ดิ่งลงในทัสนะทั้ง 3 เหล่านี้. ถามว่า ก็ใน